วิธีการวัดเท้าง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวคุณเอง

0
84
วิธีการวัดเท้า

วิธีการวัดเท้าง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวคุณเอง

เคยเจอปัญหานี้กันไหมคะ จะสั่งรองเท้าแต่ละที ก็ไม่มั่นใจว่าเท้าของเราควรใส่ไซซ์อะไรดี ซึ่งในท้องตลาดก็มีมาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเราควรจะใส่ไซซ์ไหนกันแน่ เราจึงจะมาแนะนำการวัดเท้าง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตัวคุณเองมาฝากกัน เท่านี้ปัญหาโลกแตกในการสั่งรองเท้าก็จะหมดไปแล้วล่ะค่ะ

วิธีการวัดเท้า ขนาดของเท้า

ขนาดของเท้าที่พอดีนั้น โดยทั่วไปเราจะตัดสินจากความรอบและเส้นรอบวงของเท้าค่ะ ซึ่งเราสามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ดังต่อไปนี้

การวัดความยาวเท้าและเส้นรอบวงเท้า
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม :
กระดาษ A4, ไม้บรรทัดยาว (30 ซม.), ปากกาหรือดินสอ

Step 1 วัดความยาวของเท้า โดยอ้างอิงจากจุดที่ยาวที่สุดของเท้าทั้งสองด้าน

1.1 ให้ใช้ไม้บรรทัดขีดเส้นตรงตามแนวตั้งและแนวนอนตามภาพลงบนกระดาษ A4 โดยให้ในเส้นแนวตั้งยาวประมาณ 30 ซม. โดยทำมุมตั้งฉากกับเส้นนอน และให้จุดตัดกันสองเส้นเป็นจุด A หรือวางกระดาษชิดกำแพง จากนั้นยืนให้หลังส้นเท้าแตะกำแพงเบา ๆ
1.2 ยืนกางขาให้ห่างกันเท่ากับช่วงไหล่ และทิ้งน้ำหนักลงบนเท้าทั้งสองข้างให้เท่า ๆ กัน
1.3 วางส้นเท้าให้จุดที่ยื่นออกมามากที่สุดของส้นเท้าให้ตั้งฉากและอยู่ตรงกับจุด A และให้นิ้วเท้านิ้วชี้วางอยู่บนเส้นตั้ง
1.4 ใช้ไม้บรรทัดสามเหลี่ยมหรือไม้บรรทัดธรรมดา วางทาบลงบนแนวของนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด (อาจจะเป็นนิ้วชี้หรือนิ้วโป้งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) จากนั้นลากเส้นตรงในแนวนอนอีกเส้นให้ตัดกับเส้นในแนวตั้งที่มีอยู่กำหนดให้จุดที่ตัดกันป็นจุด B

*ข้อควรจำ การวัดความยาวระหว่างจุด A และ จุด B  เราใช้เป็นหน่วยเซนติเมตรค่ะ

Step 2 วัดความกว้างและเส้นรอบวงรอบเท้า

เราจะวัดความกว้างและความกว้างเส้นรอบวงเท้า เพื่อหาระดับความกว้างของเท้าที่ถูกต้อง ซึ่งทำได้ด้วยการใช้สายวัดพันรอบเท้าจากจุดที่กระดูกยื่นออกมามากที่สุดของนิ้วโป้ง ไปถึงจุดที่กระดูกยื่นออกมามากที่สุดของนิ้วก้อย

2.1 ใช่้นิ้วจับเพื่อหาจุดที่กระดูกยื่นออกมามากที่สุดของนิ้วโป้งและนิ้วก้อย (เราจะแทนนิ้วโป้งเป็นจุด C และนิ้วก้อยเป็นจุด D)
2.2 ใช้สายวัดพันจากหลังฝ่าเท้าขึ้นมาอย่าให้แน่นเกินไป และระวังให้สายวัดอยู่ตรงกับจุด C และ D
2.3 ยืนตัวตรง ลงน้ำหนักเท้าทั้งสองให้สมดุล และอ่านขนาดความกว้างจากจุด C ถึงจุด D
2.4 ใช้สายวัดพันรอบหน้าเท้าณ.ตำแหน่ง C-D แล้วอ่านค่าเส้นรอบวงของเท้าที่รอบจุด C และ D

วิธีการวัดเท้า

Step 3 เปรียบเทียบขนาดรองเท้าจากผลที่วัดได้

เราสามารถหา Chart ในการเปรียบเทียบขนาดของเท้าได้จากอินเทอร์เน็ต โดยดูได้จากการเทียบขนาดเท้าในจุด A และ B แล้วจึงนำขนาดของเส้นรอบวงเท้ามาเทียบเพื่อหาขนาดเท้าที่แท้จริง

3. การวัดความกว้างหน้าเท้าและส้นเท้า
3.1 ให้วางกระดาษ A4 สีขาวบนพื้นราบ แล้ววางเท้าของเราลงไปโดยให้ส้นเท้าและปลายกระดาษชิดกำพง
3.2 เอาปากกาหรือดินสอปลายแหลมมาร์คจุดหรือตำแหน่งเอาไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกจะอยู่บริเวณด้านบนถัดจากโคนนิ้วในจุดที่กว้างที่สุดของทั้งสองด้านของเท้า ส่วนที่สอง อยู่บริเวณตรงกลางด้านข้างของเท้า (ส่วนที่เว้า) และส่วนที่สาม อยู่บริเวณกึ่งกลางด้านข้างของเท้า
3.3 ลากเส้นจากซ้ายมาขวาจากที่เราได้มาร์คเอาไว้ตามข้อ 2

*ข้อควรจำ ปากกาจะต้องเป็นปลายแหลม เราจะต้องวางปากกาให้แนบกับผิวเท้าโดยไม่เหลือช่องว่าง

หากเราวัดเท้าตามที่แนะนำไปในข้างต้น จะช่วยให้เราได้ขนาดเท้าที่ชัดเจน ถูกต้องและพอดีกับเท้าของเรา โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวตามมาด้วยค่ะ

BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม

ขอบคุณรูปภาพจาก Nike , SJgadget

BKK Healthcare
BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม