เจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน ” แบบไม่รู้ตัว !
หากเพื่อนๆ ท่านใดที่รู้สึกเจ็บอุ้งเท้าบ่อยๆ หรือรู้สึกว่ารองเท้าที่สวมใส่อยู่ทุกวันนั้น ทำไมมันชำรุด ผุพังง่ายจังเลย ทั้งๆ ที่ไม่ได้ไปลุยสมบุกสมบันที่ใดมา ทางเราขอแนะนำว่า ให้คุณลองไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเหล่านี้ซะนะคะ เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็นโรคเท้าแบนแบบไม่รู้ตัว และหากคุณยังชะล่าใจ ไม่ยอมไปตรวจ และใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ สุดท้าย เจ้าโรคนี้อาจทำให้คุณไม่สามารถใช้ชีวิตเหมือนเดิมได้อีกต่อไป
แต่หากใครที่ยัง งงๆ ไม่คุ้นหูกับชื่อโรคนี้ เรามาเลื่อนลงไปอ่านเพื่อทำความรู้จัก และทำความเข้าใจกับโรคเท้าแบนภัยเงียบสุดอันตรายพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ
ทำความรู้จักกับ “เท้าแบน” ภัยเงียบสุดอันตราย
เท้าแบน หรือ Flat Feet เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้าและโครงสร้างเส้นเอ็นที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า ซึ่งภาวะเท้าแบนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อยๆ ปรากฏขึ้นมา หรือในบางรายอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือเสื่อมสภาพไปตามอายุอีกด้วย
เท้าแบนสาเหตุหลักเกิดจากอะไร
เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกัน เช่น โรคหนังยืดผิดปกติ ( Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)
เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างของข้อเท้า และตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)
เกิดจากการเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมหนักๆ จึงส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในกรณีนี้ได้มีผลวิจัยชี้แจงออกมาด้วย นั่นก็คือ ผลวิจัยของ Bradley Neal จาก Queen Mary, University of London
ซึ่งผลวิจัยของ Bradley Neal จาก Queen Mary, University of London พบว่าผู้ที่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนักๆ มีความสัมพันธ์กับอาการเบื้องต้นของเท้าแบน นั่นก็คือ เจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) เจ็บที่อุ้งเท้า ส้นเท้า และมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellofemoral Pain Syndrome )
โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet อาการเป็นอย่างไร
รู้สึกเจ็บฝ่าเท้า แม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบาย และรองรับเท้าแล้ว
รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้า และส้นเท้า
ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น
ยืนไม่ค่อยได้ หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก
เจ็บหลัง และขา
รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป
ฝ่าเท้าอ่อนแรง รู้สึกชา หรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง
5 สาเหตุใกล้ตัวที่ทำให้ “เท้าแบน”
การเดินเท้าเปล่าหรือใส่รองเท้าแบนราบเป็นประจำเป็นระยะเวลายาวนาน จะส่งผลให้สรีระเท้าเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่รู้ตัว อุ้งเท้าจะค่อยๆล้ม จนเกิดเป็นภาวะเท้าแบนได้ในที่สุด
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกวันๆจนอ้วน คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เท้าแบน เนื่องจากอุ้งเท้าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเก่า ส่งผลให้ส่วนโค้งของเท้าโดนกดทับมากขึ้น ทำให้การทรงตัวเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวก็ไม่ดีเหมือนเคย
คนที่เคยบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุ จะเกิดขึ้นโดยตรงที่เท้าหรือไม่ก็ตาม แต่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่กระทบมาถึงเท้า ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเท้าแบนได้
อายุที่มากขึ้น สภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามวัย ทำให้อุ้งเท้าที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิตก็อาจค่อยๆล้มตามกาลเวลา จนเกิดเป็นภาวะ “เท้าแบน” ตามมา
กรรมพันธุ์ ซึ่งแม้จะเป็นสาเหตุหนึ่งของเท้าแบนที่เราไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม แต่เราก็สามารถดูแลควบคุมไม่ให้ทำร้ายเท้ามากขึ้นได้
“เท้าแบน” จึงเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นกับเราทุกคนโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่ใช่อาการแบบเฉียบพลันแต่จะค่อยเป็นค่อยไปจนเริ่มมีอาการดังที่กล่าวข้างต้นนั่นแหละค่ะเราถึงจะรู้ตัว นอกจากนี้ ก็มีวิธีง่ายๆที่จะเช็คได้ด้วยตัวเอง โดยดูจากรอยเท้าที่เปียกของเราบนพื้น ว่ามีลักษณะฝ่าเท้าแบบไหนดังในภาพ
การรักษา โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet
การรักษาภาวะเท้าแบนจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ โดยการรักษาภาวะเท้าแบนนั้นจะมีวิธีรักษาทั้งหมด 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้
1. วิธีบำบัดทางกายภาพ – ซึ่งวิธีบำบัดทางกายภาพจะแบ่งออกเป็นอีก 2 วิธี ดังนี้
ใส่อุปกรณ์เสริมที่เท้า (Orthotic) การสวมอุปกรณ์เสริมนับเป็นขั้นแรกของการรักษาภาวะเท้าแบน โดยอุปกรณ์เสริมจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้าให้สูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยจะต้องสอดอุปกรณ์เสริมนี้ไว้ในรองเท้าตลอดทุกครั้งที่สวมใส่
การทำกายภาพบำบัด เนื่องด้วยภาวะเท้าแบนนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งมากขึ้น นักกายภาพบำบัดจึงเข้ามาช่วยวิเคราะห์ลักษณะการวิ่งของผู้ป่วยให้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับลักษณะและเทคนิคการวิ่งให้ดีขึ้น และไม่รู้สึกเจ็บปวดเวลาวิ่งนั่นเอง
2. การรักษาด้วยยา – ผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บเท้าเรื้อรังและเท้าอักเสบ แพทย์จะสั่งยาต้านอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดบวมให้
3. การผ่าตัด – การผ่าตัดจะใช้ก็ต่อเมื่อการรักษาภาวะเท้าแบนวิธีอื่นๆ ไม่ช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ หรือสาเหตุของภาวะดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งศัลยแพทย์จะผ่าตัดให้แก่ผู้ป่วย แต่วิธีผ่าตัดจะแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยเท้าแบนที่มีรูปกระดูกผิดปกติหรือติดกัน จำเป็นต้องผ่าตัดแยกกระดูกและยืดให้ตรง ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันจะได้รับการผ่าตัดรักษาเนื้อเยื่อที่เกิดปัญหา หรือผู้ที่เอ็นร้อยหวายสั้นเกินไป อาจได้รับการผ่าตัดเพื่อยืดเอ็นและลดอาการเจ็บปวดที่เท้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว หลังจากนี้ก็เป็นการประคับประคองตัวเองเพื่อให้หายดี และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่เป็นตัวช่วยสำคัญของการใช้ชีวิตหลังจากการรักษาเท้าแบน คือ การสวมใส่รองเท้าสำหรับเท้าแบน โดยการเลือกรองเท้าสำหรับเท้าแบน หลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
เลือกรองเท้าที่สามารถปรับตามสรีระเท้าของผู้สวมใส่
เลือกรองเท้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักในขณะที่เดิน
เลือกรองเท้าที่สูง และแข็งพอที่จะพยุงอุ้งเท้าได้
ทั้งนี้ คุณสมบัติทั้ง 3 ข้อข้างต้นนั้น มีอยู่ในรองเท้าสกอลล์ที่มากับพร้อม เทคโนโลยี Biomechanics ของสกอลล์ รองเท้าที่ช่วยปรับโครงสร้างให้ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ ออกแบบโดยแพทย์เฉพาะทางโดยเฉพาะ หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจรองเท้าสำหรับเท้าแบน แบรนด์รองเท้า Scholl คือผู้นำด้านรองเท้าสุขภาพที่คุณไม่ควรพลาด
BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม
ขอบคุณรูปภาพจาก Walking Mobility Clinics