โรคเบาหวาน กับ การดูแลเท้า โรคเบาหวาน
มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูงเนื่องจากมีการเสื่อมของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบเลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าน้อยลง รวมทั้งมีการเสื่อมของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงยังเท้า แผลที่เท้าจากเบาหวาน เป็นอาการบาดเจ็บที่นำไปสู่การตัดขาที่พบมากที่สุด การป้องกันและให้การวินิจฉัยตั้งแต่แรกมีความสำคัญมาก การดูแลในผู้ป่วยเบาหวานต้องใช้องค์ความรู้ที่ครบถ้วน ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่นำไปสู่การตัดอวัยวะ
ปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้ต้องตัดขา ประกอบด้วย
1. ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy)
ความบกพร่องหรือสูญเสียระบบรับความรู้สึก
ภาวะเลือดไปเลี้ยงไม่พอ
ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ก่อให้หลั่งเหงื่อน้อยลง ผิวแห้ง แตกเป็นร่อง
ภาวะอ้วน
ความบกพร่องด้านการมองเห็น
ภาวะบกพร่องในการควบคุมน้ำตาลในเลือด
2. โครงสร้างของเท้าผิดปกติ
เท้าผิดรูปและการเกิดปุ่มกระดูกงอก อันเป็นผลมาจากถูกกดเป็นเวลานาน
จำกัดการเคลื่อนไหวของข้อ
3. การเกิดแผลที่เท้า
มีประวัติเป็นแผลที่เท้า หรือเคยตัดอวัยวะส่วนล่างของร่างกาย
สวมรองเท้าไม่เหมาะสม ทำให้ผิวหนังถูกเสียดสี หรือ กดทับ
แนวทางการดูแลรักษาป้องกันเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
1. การตรวจและ การดูแลเท้า อย่างสม่ำเสมอ
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้า
สีของผิวเปลี่ยนไปเช่นคล้ำขึ้น = ผิวสวยๆ
อุณหภูมิของผิวหนังเพิ่มขึ้น = เนื้ออุ่นๆ
บวมที่เท้า = บวมไม่บวปวดขา
ปวดเท้าเวลาเดิน = เดินไม่เจ็บ
แผลที่เท้าหายช้า = เจ็บง่ายก็ต้องหายเร็ว
เล็บขบและมีเชื้อราที่เล็บ = อย่ามาขบ อย่ามากัด
เลือดออกบริเวณตาปลา = เลือดฉันจะไหล
ผิวแห้งแตกโดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า = ผิวฉันจะแตก
2. การทำรองเท้าพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
รองเท้าจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร
ผู้ป่วยเบาหวานมีความจำเป็นต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษมากเพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดแผล และหากมีแผลและรักษาแผลหายแล้วก็ยังต้องใช้รองเท้าชนิดพิเศษต่อไป เพื่อไม่ให้แผล เกิดซ้ำขึ้นมาอีก จากการวิจัยของ King’s college ของประเทศอังกฤษพบว่าผู้ป่วยที่หายเป็นแผลแล้วกลับมาใส่รองเท้าปกติ มีโอกาสเป็นแผล ซ้ำถึง 83% ส่วนผู้ป่วยที่ใส่รองเท้าพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดแผลซ้ำเพียง 17% เท่านั้น
คุณสมบัติของรองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน
• ต้องมีความนุ่ม (cushioning)
ความนุ่มที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวานคือ 15 องศาชอว์ วัดไม่ยาก คือ ความนุ่มที่เอามือบีบแล้วยุบลงครึ่งหนึ่งของความหนาเดิม เราต้องการความนุ่มเพื่อลดแรงกระแทก และหนังแข็ง เพราะผู้ป่วยมักมีควาผิดปกติเช่น นิ้วเท้าจิกงอ (Claws toes) การโปนของปุ่มกระดูก (Bony prominent) บริเวณนี้จะมีแรงกดสูงกว่าปกติ อันจะส่งผลให้เกิด ตาปลา หนังแข็งนำไปสู่การเป็นแผลได้
• ปรับสายคาดได้ (Adjustable)
เพราะเท้าคนเราขนาดไม่เท่ากันแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยเบาหวานที่มี ปัญหาหลอดเลือด โรคแทรกซ้อนทางไต มักจะมีการบวมได้ง่าย การปรับได้จะทำให้ลดการกดบริเวณหลังเท้า ซึ่งอาจไปขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่เท้า (blocked Dorsalis Pedis Artery)
• ต้องมีสายรัดส้น (back strap)
เนื่องจากกล้ามเนื้อในเท้าอ่อนแรงจากปลายประสาทเสื่อม ส่งผลให้รองเท้าหลุดออกจากเท้าได้ง่าย
ผู้ป่วยจะพยายามจิกนิ้วเท้ากับรองเท้าเพื่อไม่ให้หลุด อันเป็นการส่งเสริมให้เกิดภาวะนิ้วงอ (Claw Toe) ตามมา ส่งผลให้เกิดเป็นความผิดปกติระดับทุติยภูมิ (Secondary Impairment) ตามมาจากภาวะปลายประสาทเสื่อม จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
• รูปแบบต้องเป็นที่ยอมรับ สำหรับตัวผู้สวมใส่เอง ลักษณะอาชีพ สังคม
รองเท้าที่ดีใส่แล้วต้องรู้สึกสบาย และสิ่งที่พิสูจน์ในขั้นสุดท้ายว่ารองเท้านั้นดี คือ เท้าต้องไม่มีแผล ไม่ว่าแผลเก่าหรือแผลใหม่
หลักการในการเลือกหรือผลิตรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
• มีด้านหน้าของรองเท้า (Toe Box) ลึกและกว้างเพื่อป้องกันการบีบรัดและเสียดสี
• มีความลึกของรองเท้ามากเป็นพิเศษเพื่อให้ใส่อุปกรณ์เสริมและการปรับแต่งได้ทำได้ง่าย
• ออกแบบมาให้สามารถปรับและใส่อุปกรณ์เสริมได้ง่าย
• พื้นรองเท้าทำจากวัสดุที่ นุ่ม ไร้รอยต่อ เพื่อป้องกันการเสียดสี
• ส่วนรองรับหลังเท้ายาว นุ่ม และมีส่วนรองรับด้านในของเท้ายาวเป็นพิเศษเพื่อการรองรับน้ำหนักที่ดีและสวมใส่สบาย
• พื้นรองเท้าหนา แข็งแรง และสามารถปรับแต่งได้เพื่อความมั่นคงและป้องกันการทิ่มแทงจากวัสดุต่างๆ
• มีให้เลือกทั้งแบบผูกเชือก (lace) และแถบสายรัด (Velcro strap) เพื่อให้สามารถปรับได้ง่ายเนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเท้าโดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของไตร่วมด้วย
เหตุผลทางเทคนิคในลักษณะรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
– เพื่อป้องกันและลดแรงกระแทกที่จะเกิดกับร่างกายในเวลายืนหรือเดิน
– ความแข็งและได้ทรงของตัวรองเท้าจะช่วยลดแรงเค้นและแรงเครียดที่เกิดจากการการเคลื่อนไหวในการเดินของบริเวณเท้าส่วนหน้าได้
– เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเท้าในระหว่างวันจากสภาวะโรค ดังนั้น สายเชือก หรือ แถบรัดจึงมีความจำเป็น
– จากรูปดังกล่าวจะเห็นถึงการเปรียบเทียบระหว่างรองเท้าที่มีการหุ้มข้อเท้าด้านหลังหรือมีสายรัดข้อเท้าจะสามารถลดการเสียดสีจากการเดินที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลได้
3. การทำแผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
แผ่นรองในรองเท้าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยปกป้องฝ่าเท้าของผู้ป่วยเบาหวานได้ เนื่องจากเป็นบริเวณที่สัมผัสกับจุดเสี่ยงที่จะเกิดแผลเบาหวานโดยตรง การทำแผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานจึงมีข้อควรคำนึงเพื่อให้สามารถรองรับฝ่าเท้า ลดแรงกระแทก และ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดแผลเบาหวานให้ได้มากที่สุด
เหตุผลทางเทคนิคในลักษณะแผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
– เพื่อป้องกันและลดแรงกระแทกที่จะเกิดกับร่างกายในเวลายืนหรือเดิน
– จากการวิจัย การใส่แผ่นลดแรงกระแทกที่หน้าเท้า และ การเสริมอุ้งเท้า จะช่วยเพิ่มพื้นที่สัมผัสเท้าในการเดินถึง 47% และ แรงที่จะกระทำต่อฝ่าเท้าจะสามารถลดลงได้ถึง 1ใน 3 จากเดิม
– แผ่นรองในรองเท้าจะช่วยรองรับฝ่าเท้าทั้งหมด และ จากการวิจัยพบว่า สามารถลดแรงกระทำต่อทั้งฝ่าเท้าได้ถึง 1ใน 2 จากเดิม
BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม
ขอบคุณรูปภาพจาก ThaiQuote, Bangkok Hospital Pattaya