หลักสรีรศาสตร์ สำคัญอย่างไรกับเก้าอี้สำนักงาน

0
77

หลักสรีรศาสตร์สำคัญอย่างไรกับเก้าอี้สำนักงาน

เชื่อแน่ว่าหลายคนอยากจะตะโกนบอกเจ้านายว่า “เจ้านายขา หนูขอเก้าอี้ดี ๆ สักตัว หลังหนูจะพังอยู่แล้ว” หากออฟฟิศไหนเจ้านายใจดีก็อาจจะจัดเก้าอี้ดี ๆ ให้ แต่ถ้าไม่ ก็ทำได้เพียงแค่อดทนกันต่อไป แต่หากใครเป็นเจ้านายและได้อ่านบทความนี้ เราจะมาเล่าให้ฟังค่ะว่าการมีเก้าอี้สำนักงานดี ๆ ที่ถูกสรีรศาสตร์มันสำคัญอย่างไร

สรีรศาสตร์ กับ การยศาสตร์เหมือนกันไหม

เราจะได้เห็นสองคำนี้แพ็คคู่มาด้วยกันเสมอ ทั้งสองคำต่างกันแต่มีความสัมพันธ์ในด้านบริบทเดียวกันค่ะ สรีรศาสตร์คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ส่วนการยศาสตร์เป็นหลักที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนกับสิ่งแวดล้อมในสภาวะการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานนั้นออกมาได้อย่างมประสิทธิภาพ สะดวกสบายในระยะยาว เมื่อจับทั้งสองศาสตร์มาเจอกันในการสร้างเก้าอี้สำนักงานดี ๆ สักตัว จะไปเอื้อในการเรื่องของการออกแบบที่เหมาะสมกับร่างกายของมนุษย์ ที่การโอบรับแผ่นหลัง สะโพกและก้น ซึ่งจะไปลดภาระการทำงานของอวัยวะที่แบกรับน้ำหนักอย่างกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกนั่นเอง

Ergonomics สำคัญอย่างไร

เราขอเรียกทั้งสองคำรวม ๆ ว่า Ergonomics เก้าอี้สำนักงานทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ออกแบบตามหลัก Ergonomics จะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และอาจจะส่งผลเสียไปยังคุณภาพของงานที่ทำได้ด้วย เช่น เก้าอี้ไม่สมดุลกับผู้ใช้ ไม่มีการรองรับและซัพพอร์ตที่ดี อาจจะเกิดภาวะทางร่างกาย เช่น ป่วยเมื่อยตามร่างกาย Office Syndrome หรือลามไปจนถึงโรคเรื้อรัง ในส่วนของการส่งผลต่อจิตใจ จะทำให้เกิดความเครียดสะสม Ergonomics จึงเป็นการประยุกต์ศาสตร์ด้านต่าง ๆ ทั้งชีววิทยา จิตวิทยา สรีรศาสตร์ กายภาคศาสตร์ เพื่อขจัดสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้พนักงานเกิดความไม่สะดวกสบาย ปวดเมื่อย มีสุขอนามัยทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ไม่ดี อันเนื่องมาจากการทำงานในสภาพแวดล้อมี่ไม่เหมาะสม

ข้อกำหนดและลักษณะเก้าอี้ตามหลัก Ergonomics

เก้าที่ถูกต้องทั้งตามหลักสรีรศาสตร์และการยศาสตร์นั้นจริง ๆ ควรเป็นอย่างไร

  • ปรับระดับความสูงของที่รองคอได้ ช่วยลดภาระของคอ และลดอาการเกร็ง
  • พนักพิงด้านหลังมีส่วนเว้าเพื่อรองรับเอวช่วงล่างหรือหลังส่วนล่างให้แนบไปกับเก้าอี้และสามารถปรับการล็อคเอนได้
  • ปรับระดับขององศาที่รองคอได้
  • ที่รองคอเป็นตาข่ายโปร่ง ไม่เก็บฝุ่น ทำความสะอาดง่าย
  • ที่วางแขนสามารถปรับเข้า-ออกได้ และสามารถปรับระดับความสูงได้
  • ปรับความหยืดหนุ่นของพนักพิงได้
  • สามารถปรับเบาะรองนั่งเข้า-ออกได้
  • ปรับรองนั่งสามารถปรับเบาะเข้า-ออกได้

หลักสรีรศาสตร์

สรีรศาสตร์กับลักษณะท่านั่งที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์

  • ศีรษะ จะต้องตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อย โดยต้องทำมุม 10 – 15 องศา เพื่อให้สายตาขนานไปกับพื้นได้อย่างพอดี ไม่ก้มต่ำจนเกินไป
  • คอ ควรอยู่ในระดับสายตา ไม่เอียงหรือยื่นไปข้างหน้า
  • หลัง จะต้องชิดแนบไปกับพนักพิง โดยสามารถเอนได้เล็กที่ 120 องศา ลำตัวตั้งตรง ไม่แอ่นหรือหลังค่อม
  • ก้น จะต้องแนบชิดไปกับพนักพิง หรือพูดง่าย ๆ คือ นั่งให้เต็มก้น โดยแนบเป็นมุมฉากกับพนักพิงและควรลงน้ำหนักในการนั่งบนกล้ามเนื้อสองข้างให้สมดุลกัน
  • ข้อศอก วางแนบชิดไปกับลำตัว หรืออาจจะวางบนที่พักแขนโดยทำมุม 90 องศา ซึ่งข้อมือและศอกควรอยู่ในแนวเส้นตรง
  • ต้นขา ควรวางราบกับเก้าอี้ และแนบชิดไปกับเบาะของที่นั่งในองศาที่พอดี
  • เข่า ข้อพับด้านหลังเข่าแนบชิดกับเบาะรองนั่ง โดยทำมุมตั้งฉากที่ 90 องศา
  • เท้า วางราบกับพื้นแบบเต็มฝ่าเท้า ไม่ควรนั่งให้เท้าลอยจากพื้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อช่วงขาเกร็ง และเกิดอาการปวดเมื่อยตามมาได้

ทั้งหมดนี้เป็นคือความสำคัญของหลักสรีรศาสตร์และการยศาสตร์ที่เกี่ยวกับข้อกับเก้าอี้สำนักงาน

โดยคำแนะนำข้างต้น สามารถลองนำไปใช้กันได้ เพื่อปรับเปลี่ยนท่านั่งที่ถูกต้องไปพร้อมกับเปลี่ยนเก้าอี้ที่มีการซัพพอร์ตอวัยวะของเรา

BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม

ขอบคุณรูปภาพจาก ichi.pro , sanook

BKK Healthcare
BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม