ทำความรู้จัก โรคประจำถิ่น

0
53
โรคประจำถิ่น

Endemic (โรคประจำถิ่น) คือ โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น กล่าวคือมีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศ หรือทวีป เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา

โรคประจำถิ่นในประเทศใดว่าต้องพิจารณาจากปัจจัยดังนี้

1) เชื้อลดความรุนแรง (ปัจจุบันความรุนแรง อัตราป่วยตายโรคโควิด 19 ลดลงเหลือ เสียชีวิต ~ 1 ราย จากผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย)

2) ประชาชนมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี เช่น การฉีดวัคซีน การติดเชื้อก่อนหน้า

3) ประเทศนั้นๆ มีระบบการบริหารจัดการ การดูแลรักษา และควบคุม/ชะลอการระบาดได้อย่างดี (ตัวอย่างที่ดีในประเทศไทย และอีกหลายๆประเทศ)

มีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO เรื่อง “โรคประจำถิ่น” โดยแพทย์หญิงแคเธอรีน สมอลวู้ด หัวหน้าฝ่ายตอบสนองฉุกเฉินของดับเบิลยูเอชโอ ประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า จริงอยู่ที่ทุกฝ่ายประเมินว่า โควิด-19 จะเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันถือว่ายังไม่ใช่ ตอนนี้ WHO ไม่สนับสนุนให้มีการสรุปเอง ว่าโควิดไม่ต่างจากไข้หวัดใหญ่ เพราะการคิดเช่นนั้น เท่ากับเป็นการลดระดับความเข้มข้นของมาตรการ จากระดับโรคระบาดสู่โรคประจำถิ่น

ทั้งนี้ การกำหนดให้โรคใดก็ตามเป็นโรคประจำถิ่น อัตราการระบาดต้องมีความเสถียร และการแพร่กระจายหรือการติดต่อของโรคต้องคาดการณ์ได้ แต่โควิด-19 ยังไม่อยู่ ณ จุดนั้น

สำหรับการระบาดของโรคติดต่อ มี 4 ระดับ ได้แก่

1) Endemic (โรคประจำถิ่น) คือ โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น กล่าวคือมีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศ หรือทวีป เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา

2)  Outbreak (การระบาด) คือ เหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทั้งในกรณีโรคประจำถิ่น แต่มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าที่คาดการณ์ หรือในกรณีโรคอุบัติใหม่ ถึงแม้จะมีผู้ป่วยเพียงรายเดียว

3) Epidemic (โรคระบาด) เป็นการระบาดของโรคที่แพร่กระจายกว้างขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งโรคระบาดที่แผ่ไปในพื้นที่ที่กว้างขึ้นนั้นเป็นการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเกินกว่าที่คาดการณ์ได้ เช่น โรคอีโบลาที่ระบาดในทวีปแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559

4 Pandemic (การระบาดใหญ่/ทั่วโลก) หรือ ระดับการระบาดสูงสุด เช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 (Spanish flu) หรือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และล่าสุดคือการระบาดของ COVID-19 ในอย่างน้อย 122 ประเทศทั่วโลก

โรคเฉพาะถิ่นคือโรคที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือประชากรเฉพาะ ซึ่งหมายความว่ามีการถ่ายทอดจากคนสู่คนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของโรคเฉพาะถิ่น ได้แก่ โรคหัดและมาลาเรีย

คำว่า “เฉพาะถิ่น” มาจากคำภาษากรีก “เอนโด” ซึ่งหมายถึง “ภายใน” หมายถึงความจริงที่ว่าโรคนี้มีอยู่อย่างต่อเนื่องในสถานที่หรือประชากรบางแห่ง

โรคเฉพาะถิ่นคือโรคที่ปรากฏในชุมชนหรือภูมิภาคเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างคือมาลาเรียซึ่งมีอยู่ในแอฟริกามานานหลายศตวรรษ

โรคประจำถิ่นคือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคหรือประชากรเฉพาะ

สาเหตุหลักของโรคประจำถิ่นคือเชื้อโรค เชื้อโรคคือจุลินทรีย์ที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนผ่านทางอากาศ อาหาร น้ำ สัตว์ และแมลง

โรคประจำถิ่นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำหรือขาดสารอาหาร