ความหมาย เท้าแบน (Flat Feet) เป็นยังไง

0
87
เท้าแบน

ความหมาย เท้าแบน

เท้า แบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า อุ้งเท้าเกิดจากการยึดกันระหว่างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกเท้า โดยเส้นเอ็นที่เท้าเองและเส้นเอ็นส่วนที่ต่อจากขาส่วนล่างจะยึดกระดูกตรงกลางเท้าเข้ากับส้นเท้า ทำให้กลางฝ่าเท้าโค้งเข้ามาและไม่ราบไปกับพื้น ภาวะเท้าที่แบนเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมา บางคนอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ภาวะเท้าที่แบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ

เท้าแบน ลักษณะของภาวะเท้าที่แบนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาวะเท้าที่แบนแต่กำเนิด และภาวะเท้าที่แบนที่เกิดขึ้นภายหลัง ดังนี้

ภาวะเท้าที่แบนแต่กำเนิด ภาวะนี้จะปรากฏลักษณะเท้าที่แบน 2 แบบ ได้แก่ เท้าที่แบนแบบนิ่ม และเท้าที่แบนแบบแข็ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ภาวะเท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) ภาวะเท้าที่แบนลักษณะนี้จัดเป็นภาวะเท้าที่แบนที่พบได้มากที่สุด พบตอนเป็นเด็ก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าที่แบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด

ภาวะเท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot) เท้าที่แบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า

ภาวะเท้าที่แบนนที่เกิดขึ้นภายหลัง ภาวะเท้าที่แบนลักษณะนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ภาวะเท้าที่แบนลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะและอายุมาก ทั้งนี้ สาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเท้าที่แบนภายหลังมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

เอ็นร้อยหวายสั้น (Short Archilles Tendon) ผู้ที่ส้นเท้ายกขึ้นจากพื้นก่อนส่วนอื่นของฝ่าเท้าเมื่อเดินหรือวิ่ง เกิดจากเอ็นร้อยหวายที่ยึดกระดูกส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องสั้นเกินไป ผู้ที่เกิดภาวะเท้าที่แบนลักษณะนี้จะรู้สึกเจ็บเมื่อเดินหรือวิ่ง

เอ็นเท้าอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction) ภาวะเท้าที่แบนลักษณะนี้เกิดจากเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อน่องกับด้านในข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ บวม หรือฉีกขาด หากอุ้งเท้าได้รับการกระแทก จะทำให้รู้สึกเจ็บด้านในฝ่าเท้าและข้อเท้า

อาการของเท้าแบน

ภาวะเท้าที่แบนที่เกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเจ็บเท้า โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้าหรืออุ้งเท้า อาการเจ็บนั้นจะยิ่งแย่ลงเมื่อต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเกิดอาการบวมที่ข้อเท้าด้านในร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ประสบภาวะเท้าที่แบนไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ที่เท้า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดภาวะเท้าที่แบนควรไปพบแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้

รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้ว
รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า
ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น
ยืนไม่ค่อยได้ หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก
เจ็บหลังและขา
รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป
เท้าที่แบนมากยิ่งขึ้น
ฝ่าเท้าอ่อนแรง รู้สึกชา หรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง

สาเหตุของเท้าที่แบน

ภาวะเท้าที่แบนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อและกระดูกของฝ่าเท้าและขาส่วนล่าง โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเท้าที่แบน มีดังนี้

เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกัน เช่น โรคหนังยืดผิดปกติ ( Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการที่ข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)เนื้อเยื่อที่เชื่อมกันตรงฝ่าเท้ายืดและอักเสบเอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่าง ข้อเท้า และตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)กระดูกหักหรือกระดูกงอกผิดที่นอกจากนี้ ผู้ที่เสี่ยงหรือมีแนวโน้มจะประสบภาวะเท้าที่แบนนั้น ได้แก่

ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นภาวะเท้าที่แบน
ผู้ที่เล่นกีฬาหรือต้องทำกิจกรรมหนัก ๆ อันส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บ
ผู้ป่วยโรคอ้วน เนื่องจากเอ็นที่รองรับอุ้งเท้าต้องแบกน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคนี้จะส่งผลต่อเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเอ็นที่เท้า
ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานส่งผลต่อเส้นประสาทที่เท้า และยังทำให้เส้นเอ็นอ่อนแรง
สตรีมีครรภ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบจากฮอร์โมนทำให้เอ็นยึดข้ออ่อนนุ่มขึ้น
ผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ เนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อข้อต่อหรือทำให้เอ็นอ่อนแอลง
ผู้ที่อายุมาก เนื่องจากเส้นเอ็นจะเสื่อมและยืดออกตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
ผู้สูงอายุที่ล้มหรือได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ

การวินิจฉัยภาวะเท้าที่แบน

เบื้องต้นผู้ป่วยสังเกตภาวะเท้าที่แบนได้เอง โดยสังเกตรอยเท้าที่เปียกน้ำว่าปรากฏรอยเท้าแบบเต็มเท้าหรือไม่ หากรอยเท้ามีลักษณะเต็มเท้า ไม่ปรากฏส่วนโค้งเว้า แสดงว่ามีแนวโน้มเกิดภาวะเท้าที่แบน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยได้ แพทย์จะตรวจและวินิจฉัยภาวะเท้าที่แบน โดยพิจารณาว่าผู้ป่วยมีภาวะเท้าที่แบนหรือไม่ และสาเหตุของภาวะดังกล่าวเกิดจากอะไร โดยแพทย์จะสังเกตลักษณะเท้าตั้งแต่ด้านหน้าและหลังเท้า รวมทั้งให้ผู้ป่วยลองยืนขึ้นเพื่อดูลักษณะเท้าตอนยืน และดูประวัติการรักษาของผู้ป่วยประกอบด้วย เนื่องจากภาวะเท้าที่แบนที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวเนื่องกับอาการเจ็บป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บที่ผู้ป่วยเคยประสบมา รวมทั้งดูรองเท้าที่สวมว่ามีลักษณะการสวมที่ผิดปกติหรือไม่ หากผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดที่เท้า อาจได้รับการตรวจด้วยภาพสแกนต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุ ดังนี้

เอกซเรย์ แพทย์จะเอกซเรย์กระดูกและข้อต่อของเท้า เพื่อตรวจหาอาการข้ออักเสบ
ซีที สแกน วิธีนี้จะทำโดยเอกซเรย์เท้าของผู้ป่วยหลายมุม ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลมากขึ้น
อัลตราซาวด์ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เอ็นจะต้องทำอัลตราซาวด์ โดยการใช้คลื่นเสียงประมวลภาพเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายออกมาเอ็มอาร์ไอ แพทย์จะทำเอ็มอาร์ไอซึ่งเป็นการใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กประมวลภาพของเนื้อเยื่อในร่างกาย

การรักษาภาวะเท้าที่แบน

ภาวะเท้าที่แบนไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดจากภาวะดังกล่าว ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ซึ่งวิธีรักษาภาวะเท้าที่แบนขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ วิธีรักษาภาวะเท้าที่แบนประกอบด้วยวิธีบำบัดทางกายภาพ การรักษาด้วยยา และการผ่าตัด ดังรายละเอียดต่อไปนี้

วิธีบำบัดทางกายภาพ การรักษาภาวะเท้าที่แบนด้วยวิธีบำบัดทางกายภาพ มีดังนี้

เท้าแบน

ใส่อุปกรณ์เสริมที่เท้า (Orthotic) การสวมอุปกรณ์เสริมนับเป็นขั้นแรกของการรักษาภาวะเท้าที่แบน โดยอุปกรณ์เสริมจะบรรเทาอาการเจ็บเท้าและช่วยหนุนเท้า ผู้ป่วยจะสอดอุปกรณ์เสริมนี้ไว้ในรองเท้า ส่วนเด็กเล็กจะได้รับรองเท้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะจากแพทย์ เพื่อสวมใส่จนกว่าฝ่าเท้าจะเจริญเต็มที่

ออกกำลังยืดเส้น ผู้ป่วยเท้าที่แบนอันเนื่องมาจากเอ็นร้อยหวายสั้นเกินไปอาจต้องออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันของขาส่วนล่าง โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำการออกกำลังกายให้แก่ผู้ป่วย ท่าออกกำลังกายยืดเอ็นร้อนหวายเริ่มจากโน้มตัวไปข้างหน้ายันผนังไว้ ก้าวขาข้างหนึ่งมาด้านหน้างอเข่า ส่วนขาที่อยู่ข้างหลังยืดตรงและลงน้ำหนักที่ส้นเท้า ทำค้างไว้ 15-30 วินาที ระหว่างที่ทำท่านี้ ควรให้ส้นเท้าราบไปกับพื้นทั้งหมด ปลายนิ้วเท้าของขาหลังอยู่ในทิศทางเดียวกับส้นเท้าของขาที่อยู่ด้านหน้า

สวมรองเท้าที่รับกับเท้า การสวมรองเท้าที่พอดีและรับกับรูปเท้าจะทำให้รู้สึกสบายเท้ามากกว่าการสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าที่รองรับเท้าของผู้สวมได้น้อย

ทำกายภาพบำบัด ภาวะเท้าที่แบนอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งมากขึ้น นักกายภาพบำบัดจะช่วยวิเคราะห์ลักษณะการวิ่งของผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับลักษณะและเทคนิคการวิ่งให้ดีขึ้น

การรักษาด้วยยา ผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บเท้าเรื้อรังและเท้าอักเสบ จะได้รับยาต้านอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
การผ่าตัด หากการรักษาภาวะเท้าที่แบนวิธีอื่น ๆ ไม่ช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาลงได้ หรือสาเหตุของภาวะดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะผ่าตัดให้แก่ผู้ป่วย แต่วิธีผ่าตัดจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น ผู้ป่วยเท้าที่แบนที่มีรูปกระดูกผิดปกติหรือติดกัน จำเป็นต้องผ่าตัดแยกกระดูกและยืดให้ตรง ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อที่ยึดเชื่อมกันจะได้รับการผ่าตัดรักษาเนื้อเยื่อที่เกิดปัญหา หรือผู้ที่เอ็นร้อยหวายสั้นเกินไป อาจได้รับการผ่าตัดเพื่อยืดเอ็นและลดอาการเจ็บปวดที่เท้า

ภาวะแทรกซ้อนของเท้าที่แบน

ภาวะเท้าที่แบนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง ดังนี้

หากภาวะเท้าที่แบนเกิดอาการแย่ลง จะส่งผลกระทบต่อการเดินของผู้ป่วย ทั้งนี้ การสูญเสียความสามารถในการทรงตัวและดีดตัวของเท้า จะทำให้ปวดที่เท้าและหลังมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และอาการอักเสบของเส้นเอ็น

ลักษณะการเดินและรูปเท้าที่เปลี่ยนไปทำให้เท้าเกิดความผิดปกติอื่น ๆ เช่น นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป หนังหนาด้าน ข้อนิ้วเท้าเกิดงอและติดกันแน่น หรือเกิดปุ่มกระดูกขึ้นมา
เนื่องจากไม่สามารถลงแรงไปที่เท้าได้เต็มที่ แรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวจึงไปลงที่ขามากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าขาอักเสบ

ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดอาจติดเชื้อ ข้อเท้าเคลื่อนไหวได้ไม่ดี กระดูกหายช้า และเกิดอาการเจ็บอยู่ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่พบได้ไม่บ่อยนัก

การป้องกันภาวะเท้าที่แบน

สาเหตุของภาวะเท้าที่แบนมีแนวโน้มเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงอาจป้องกันได้ยาก อย่างไรก็ดีภาวะเเท้าที่แบนสามารถจัดการและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ ดังนี้

สวมรองเท้าที่พอดีและรับกับลักษณะฝ่าเท้า
สวมอุปกรณ์เสริมที่เท้าเพื่อลดอาการปวดเท้า
เลี่ยงกิจกรรมหรือกีฬาที่ก่อให้เกิดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้า เช่น วิ่ง กระโดด เล่นบาสเก็ตบอล เตะฟุตบอล หรือตีเทนนิส
รับประทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่เท้าให้ทุเลาลง
ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกระแทกที่เท้า รวมทั้งเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะเท้าที่แบน เช่น ดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน

BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม

ขอบคุณรูปภาพจาก Health2Click, Pobpad

BKK Healthcare
BKK Healthcare เว็บไซต์สุขภาพยอดนิยม