ใบกระท่อม ดีต่อสุขภาพอย่างไร

0
45
ใบกระท่อม ดีต่อสุขภาพอย่างไร

ใบกระท่อม ดีต่อสุขภาพอย่างไร

ปลดล็อคมาสักพักแล้วแล้วสำหรับ “ใบกระท่อม” ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถปลูก ซื้อ-ขายได้อย่างเสรีในลักษณะของสมุนไพร แต่อย่านำไปผสมจนกลายเป็นสารเสพติด และห้ามจำหน่ายให้แก่เยาวชน อาจมีโทษได้

โดยสาระสำคัญการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวนั้น กำหนดให้ผู้ที่ปลูกพืชกระท่อมไว้ครอบครองสามารถซื้อ ขาย หรือนำมาบดเคี้ยวได้ และปลูกต้นกระท่อมเพิ่มเติมได้ รวมไปถึงการสามารถส่งขายเชิงพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม โดยไม่ต้องขออนุญาต

ทำความรู้จักพืชกระท่อม หรือ ใบกระท่อม

กระท่อม (Kratom) หรือ Mitragyna speciosa (Korth.) HaviL. เป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae ถูกนำมาใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านมานานหลายร้อยปีแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชที่พบมากทางใต้ของไทยไปจนถึงเขตชายแดน นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้าในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง

พืชกระท่อมที่พบในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น ภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้ เรียก ท่อม หรือท่ม ในมลายูเรียกคูทุม (Kutum) หรือ คีทุมเบีย (Ketum Bia) หรือ เบียก (Biak) ลาวเรียกไนทุม (Neithum) อินโดจีน เรียกโคดาม (Kodam)

ในประเทศไทยบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นต้น

พืชกระท่อม หรือ ใบกระท่อม มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ?

อย่างที่เราทราบกัน ใบกระท่อม ได้เริ่มถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรเพราะมีสรรพคุณ ที่สามารถกล่าวอ้างจากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมได้ทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้

  1. รักษาอาการท้องเสียท้องร่วง

ใช้ใบกระท่อมสดหรือใบแห้ง เคี้ยว รือชงกับน้ำ ดื่มรักษาอาการติดเชื้อในลำไส้ บรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง

  1. บรรเทาอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ

จะช่วยลดอาการเมื่อยล้า เพราะฤทธิ์ของกระท่อมจะช่วยกดความรู้สึกปวดเมื่อยเนื้อตัวได้ ช่วยให้มีความอึดมากขึ้น

  1. บำรุงกำลัง

สรรพคุณที่เด่นที่สุดของ ใบกระท่อม คือ การออกฤทธิ์เพิ่มพละกำลัง และกระตุ้นร่างกายให้อดทนต่องานหนัก ทนแดดได้นานขึ้น และยังช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานอึดขึ้นในขณะที่ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อด้วย

โดยผลการศึกษาในขั้นพรีคลินิก ของบริษัท Smith, Kline and French Laboratories ได้ทดลองใช้ใบกระท่อมในกลุ่มชายวัยกลางคน 30 คน ที่ทำงานหนัก โดยให้เคี้ยวใบกระท่อมสด 3-10 ครั้งต่อวัน ในปริมาณ 2-3 ใบต่อครั้ง เป็นเวลานานกว่า 5 ปี และพบว่า ใบกระท่อมกระตุ้นการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง และผลกระตุ้นจะเกิดภายใน 5-10 นาที ทว่าก็พบอาการไม่พึงประสงค์ในกลุ่มอาสาสมัครด้วย เช่น ปากแห้ง ท้องผูก ผิวคล้ำ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด เป็นต้น

  1. แก้ปวดได้ดีกว่ามอร์ฟิน

อีกพึ่งสรรพคุณที่ดีไม่แพ้กัน คือ แก้ปวด โดยใน ใบกระท่อม มีสารสำคัญที่ชื่อว่า ไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งพบในใบกระท่อมไทยสูงถึง 66% โดยสารชนิดนี้เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่ม LSD และยาบ้า จึงมีฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด กระตุ้นความรู้สึกเคลิ้มสุข และทำให้ง่วงซึม

ขณะเดียวกันจากการศึกษาก็พบสารเซเว่นไฮดร็อกซีไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) ในใบกระท่อม โดยสารนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการตอบสนองต่อความเจ็บปวด (Antinociceptive) ได้ดีกว่ามอร์ฟีนถึง 13 เท่า

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า กระท่อมให้ผลข้างเคียงน้อยกว่ามอร์ฟีนหลายประการ เช่น ไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการขาดยาไม่ทรมานเท่ามอร์ฟีน และบำบัดได้ง่ายกว่ายากล่อมประสาท

  1. แก้ปวดฟัน

ด้วยฤทธิ์ระงับปวดของ ใบกระท่อม จึงมีการนำใบกระท่อมไปปรุงเป็นยาสมุนไพรแก้ปวดฟันตามตำราแพทย์แผนโบราณ

  1. แก้ไอ รักษาแผลในปาก และถอนพิษ

ใบกระท่อม ยังถูกปรุงเป็นยาสมุนไพรแก้ไอ ยาสมานแผลในปาก ห้ามเลือด และแก้พิษจากพืชหรือสัตว์ได้อีกด้วย

  1. ลดความอยากในสารเสพติดชนิดอื่น

ในหลาย ๆ ประเทศใช้ใบกระท่อมลดอาการขาดยาเสพติด เช่น ฝิ่น เฮโรอีน หรือมอร์ฟีน เมื่อใช้กระท่อมในปริมาณและในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากกระท่อมให้ผลข้างเคียงที่น้อยกว่า และบำบัดการเสพติดได้ง่ายกว่านั่นเอง

การออกฤทธิ์ของ ใบกระท่อม

เมื่อเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที ร่างกายจะดูดซึมสารสำคัญในใบกระท่อม และออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ร่าเริง สดชื่น หายปวดเมื่อย หายเหนื่อย แต่ถ้าครึ้มฟ้าครึ้มฝนจะมีอาการหนาวสั่นคล้ายจะเป็นไข้ หากทุกวันต่อเนื่องไปนาน ๆ อาจเกิดการเสพติด และเกิดผลข้างเคียง ดังนี้

1. ผิวคล้ำลงจนดูเหมือนผิวแห้งขาดน้ำ

  1. ปากแห้ง ริมฝีปากคล้ำ
    3. ท้องผูก
    4. นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
    5. คลื่นไส้ อาเจียน จากการเมากระท่อม
    6. ไม่มีแรง อ่อนเพลีย เมื่อมีภาวะเสพติดแล้วหยุดใบกระท่อม
    7. ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก
    8. บางรายที่เสพมากเกินไปอาจพบอาการแขนกระตุกเองได้
    9. ซึมเศร้า เซื่องซึม ไม่อยากพูดจากับใคร หรืออาจมีอารมณ์ก้าวร้าวไปเลย
    10. พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
    11. บางรายอาจมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย

    อย่างไรก็ตาม อาการเมาใบกระท่อมก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย บางคนอาจเคี้ยวใบกระท่อม 3 ใบไม่เมา แต่บางคนเคี้ยวแล้วอาจมีอาการเมาใบกระท่อมก็เป็นได้

สุดท้ายนี้การใช้ ใบกระท่อม แม้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ก็ไม่ควรนำกระท่อมไปใช้เองเพื่อหวังผลการรักษาโรค เพราะอาจได้รับผลข้างเคียงและเป็นอันตรายได้หากใช้ไม่ถูกวิธี จึงควรรอให้มีการนำสรรพคุณของกระท่อมไปศึกษาวิจัยและต่อยอดเป็นยารักษาโรคในอนาคต

ที่มา :

1.ใบกระท่อม สรรพคุณทางยา ประโยชน์และโทษ ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชและเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์

2.สำนักงานกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

3.กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข