ผลข้างเคียงจากการผ่าฟันคุด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจาก การผ่าฟันคุด

0
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ผลข้างเคียงจาก การผ่าฟันคุด อาการปวดฟันเป็นอาการที่ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเจอ โดยเฉพาะอาการปวดฟันคุด ที่หากใครเคยเป็นแล้วล่ะก็ จะทราบกันดีว่ามันปวดสาหัสขนาดไหน บางคนปวดมากจนลามไปปวดหัวจนเกือบคิดไปว่าเป็นไมเกรนหรือเปล่า และทางรักษาหนึ่งเดียวก็คือการ ผ่าฟันคุด แต่แน่นอนว่าหากใครไม่เคยผ่าฟันคุด ย่อมวิตกกังวลต่าง ๆ นานา ว่าผ่าไปแล้วจะมีผลข้างเคียงอะไรไหม จะเป็นอันตรายหรือไม่ เรานำข้อมูลดังกล่าวนี้มาไว้ที่แล้วค่ะ ฟันคุดคืออะไร ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้เป็นปกติ โดยอาจจะโผล่มาแค่เสี้ยวเดียวหรือไม่โผล่ขึ้นมาเลย แต่ฝังตัวไว้ในขากรรไกรก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าฟันคุดขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่นๆ ทำให้ไม่มีช่องว่างเพื่อที่จะโผล่ขึ้นมาได้นั่นเอง สามารถพบได้บ่อย ๆ ในบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง ทำไมต้องผ่าฟันคุด อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าฟันคุดบางซี่ก็ฝังตัวในขากรรไกร...
เทเลเฮลท์

“เทเลเฮลท์” เทรนด์ใหม่ที่จะปฏิวัติวงการสุขภาพไทย

0
เป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้วที่ “นิตยา” ต้องเลื่อนนัดแพทย์ผู้รักษาอาการปวดหลังเรื้อรังของเธอ ถึงแม้ว่าเธอแทบจะไม่สามารถดูแลลูกน้อยหรือทำงานบ้านในแต่ละวันได้ เนื่องจากเกรงว่า เธออาจมีโอกาสติดโควิด-19 จากการรอตรวจอาการ นั่งแท็กซี่ หรือแม้แต่จากบรรดาแพทย์และพยาบาลที่ต้องตรวจรักษาคนไข้มากมาย เธอกลัวการติดโควิดมากกว่าปวดหลัง ทั้งๆ ที่ต้องทุกข์ทรมานจากอาการนี้ทุกครั้งที่ขยับตัว “ฟิลิป” เจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้าอาวุโส ต้องเดินทางไปจังหวัดระยอง เนื่องจากมีนัดประชุมกับลูกค้าหลายราย ขณะพักอยู่ในโรงแรม เขามีอาการมึนศีรษะ อาเจียน และรู้สึกอ่อนเพลีย โรงแรมไม่มีแพทย์ที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ และการไปพบแพทย์ฉุกเฉินกลางดึกอาจไม่ใช่ความคิดที่ดี เพราะ “ฟิลิป” ไม่รู้จักถนนหนทางในตัวเมือง และไม่คุ้นชินกับโรงพยาบาลในละแวกนั้น ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคที่เราไม่คาดคิดมาก่อนนี้ หลายคนวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของตัวเองมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ แต่การเข้าพบแพทย์กลับกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ด้วยความกังวลมากมายที่จะต้องเดินทางจากสถานที่ปลอดภัยไปยังสถานที่เสี่ยงอย่างโรงพยาบาลที่น่าจะมีโอกาสในการติดเชื้อ...
ดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโควิด-19

ดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโควิด-19

0
ดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ทั่วโลก มีรายงานผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกวัน ทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ยิ่งเพิ่มความกังวลกับพ่อแม่หรือผู้ปกครองขึ้นไปอีก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ในปัจจุบัน ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันมีการปรับเปลี่ยน หลายคนอาจเริ่มปรับตัวและเคยชินกับการดูแลตนเองแล้ว แต่ไม่ใช่กับเด็กทารก หรือเด็กแรกเกิดเสมอไป เพราะเด็กแรกเกิดนั้น ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง และยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ   ดร.พิมพ์ขวัญ บุญจิตต์พิมล นักธุรกิจสาวเจ้า ของธุรกิจศูนย์ปลูกผม ศัลยกรรม ผิวพรรณ...
ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

0
ทันตกรรมสำหรับเด็ก บริการให้คำปรึกษา ดูแลรักษาฟันน้ำนม ตรวจสุขภาพฟัน โดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กซึ่งถูกอบรมมาโดยเฉพาะในการรักษาเด็กเล็ก ถ้าลูกของคุณกลัวการทำฟัน จะเป็นการดีอย่างมากที่จะพามาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก ในการพาเด็กๆ ไปพบหมอฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและความเสี่ยงของการเกิดฟันผุตามระยะเวลาต่างๆ ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน การดูดนิ้ว การสบฟันที่ผิดปกติ ในการตรวจสุขภาพฟันประจำปี ทันตแพทย์จะช่วยตรวจจุดที่อาจจะมีฟันผุ และขัดฟันทำความสะอาดให้ เมื่อปัญหาของฟันถูกพบในระยะเริ่มต้น การรักษาจะง่ายและไม่เจ็บปวด การใส่เครื่องมือกันฟันล้มเพื่อคงช่องว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้นลดปัญหาฟันซ้อนเก ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะแนะนำให้ทำเครื่องมือกันฟันล้ม ในกรณีที่ลูกของคุณสูยเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาที่เหมาะสม เครื่องมือนี้จะคงช่องว่างไว้เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งดังกล่าว การเคลือบหลุมร่องฟัน คือ การเคลือบฟัน (Sealant) บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ช่วยปิดบริเวณหลุมและร่องฟันที่ลึกไม่ให้สิ่งสกปรกลงไปสะสมและสามารถแปรงฟันทาความสะอาดได้ง่ายขึ้นเป็นการป้องกันฟันผุ ในการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำให้ฟันหลวมออกจากกระดูกขาขากรรไกรและเส้นเอ็น จากนั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าคีมหรือปากคีบจับฟันแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ทั้งนี้ฟันที่ถอนยาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ในคราวเดียว...
ผู้หญิงท้องยาก จงให้ความสำคัญกับ ไข่ มดลูก และฮอร์โมน

ผู้หญิงท้องยาก จงให้ความสำคัญกับ ไข่ มดลูก และฮอร์โมน

0
ผู้หญิงท้องยาก จงให้ความสำคัญกับ ไข่ มดลูก และฮอร์โมน "ภาวะมีบุตรยาก" หมายถึง ภาวะที่คู่สมรส ไม่สามารถมีบุตรได้ ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ นับวันไข่ตก และไม่ได้คุมกำเนิด โดยแบ่งเป็นผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายใน 1 ปี และผู้หญิงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถมีบุตรได้ ภายในเวลา 6 เดือน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) สาเหตุการมีบุตรยากที่มาจากฝ่ายชาย...
รักษารากฟัน

รักษารากฟัน เตรียมตัวอย่างไร

0
การรักษารากฟัน เตรียมตัวอย่างไร รักษารากฟัน เป็นการหยุดยั้งการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้นหลังจากรักษาคลองรากฟันแล้วควรพิจารณาทำเดือยและครอบฟัน เพื่อคงความแข็งแรงให้กับฟันที่รักษารากแล้ว ลักษณะของฟันที่ต้องรักษารากฟัน 1. ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน 2. ฟันที่มีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิมที่เกิดจากฟันตาย 3. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ฟันหัก ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน (กรณีผลสำเร็จในการรักษาต่ำ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟัน) 4. กรณีแก้ไขแนวฟันที่ทำร่วมกับการครอบฟัน ข้อดีของ รักษารากฟัน 1. สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้อย่างน้อย 5 - 10 ปี โดยไม่ต้องถอนฟัน 2....

ทันตกรรมรักษารากฟัน

0
ทันตกรรมรักษารากฟัน การรักษารากฟัน คือ การกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อในตัวฟันที่ตายแล้วออก ทำความสะอาดโดยการใช้เครื่องมือขยายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น สามารถใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟันได้ เมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันได้หมดแล้ว จะอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันได้อีก การรักษาคลองรากฟันไม่ใช่การรักษาที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าคนไข้ที่จำเป็นต้องรักษารากฟัน มักมาพบด้วยอาการปวด จากการที่เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันอักเสบมากจากการติดเชื้อ สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่โพรงประสาทฟันถูกทำลายหรือตายได้แก่ ฟันแตก ฟันผุลึก อาการบาดเจ็บของฟัน เช่น การกระแทกอย่างแรงที่ฟัน ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไม่นานหรือในอดีต เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา จะมีการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ และสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวด อาการที่แสดงว่าต้องรับการรักษารากฟัน ฟันที่ผุลึกถึงระดับเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน...
รากฟันเทียม

รากฟันเทียมคืออะไร

0
รากฟันเทียมคืออะไร รากฟันของเทียม คือวัสดุที่ฝังลงในขากรรไกร เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ซึ่งทันตแพทย์จะยึดติดที่ครอบฟันหรือสะพานฟันเข้ากับ “ราก” นี้ เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป รากเทียมมีรูปร่างคล้ายสกรู ทําจากโลหะไทเทเนียม มีความ หนา 3-5 มิลลิเมตร และยาว 8-16 มิลลิเมตร โดยปกติแล้วจะใช้เวลา 3-6 เดือน เพื่อให้รากเทียมติดได้อย่างแนบแน่นกับกระดูกขากรรไกร ก่อนที่จะใส่ฟันปลอมเข้าไป แต่ในบางกรณี อาจใช้เวลาเร็วกว่านั้น ส่วนที่ทดแทนรากฟันมักประกอบด้วย...

คุณหมอขอตอบ! อยาก จัดฟันในช่วง Covid-19 จริงๆ แล้ว…ทำได้หรือไม่?

0
คุณหมอขอตอบ! จัดฟันในช่วง Covid-19 อยาก จริงๆ แล้ว...ทำได้หรือไม่? ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลาย ๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น หรือบางคลินิกถึงกับปิดรับการรักษาเลยทีเดียว เมื่อเรากำลังผ่านพ้นช่วงของโรคระบาดไป และจำเป็นต้องกลับมาดำรงชีวิตตามปกติ จึงเป็นช่วงเวลาของการทบทวนในการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัยไร้ Covid-19 และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยที่กังวลในการมารับการรักษาที่โรงพยาบาล คำถามยอดฮิต! จัดฟันในช่วง Covid-19 จัดฟันได้หรือไม่ กรมการแพทย์ ได้ให้แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในกรณีเร่งด่วน Emergency...
มารู้จัก mRNA

มารู้จัก mRNA

0
มารู้จัก mRNA วัคซีนที่สามารถป้องกันสายพันธุ์ อัลฟ่า เบต้า เดลต้าได้ อัลฟ่า เบต้า และเดลต้า 3 สายพันธุ์โควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดระบาดในประเทศไทยอยู่ขณะนี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ที่หลายคนค่อนข้างหวั่นวิตก เพราะติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้อาการรุนแรง และเชื้อเดลต้าก็สามารถอยู่ในร่างกายได้ยาวนานกว่าเชื้อสายพันธ์ุอื่น นั่นทำให้วัคซีน mRNA เริ่มถูกพูดถึงและหลายคนอยากได้รับการฉีดมากขึ้น แต่วัคซีนชนิด mRNA คืออะไร...

Recent Posts