โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า

0
โรคพิษสุนัขบ้าโลก (World Rabies Day) ตรงกับวันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของโรคพิษสุนัขบ้าและการป้องกันโรคนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies virus) ซึ่งพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว ค้างคาว วัว ลิง ชะนี กระรอก กระต่าย รวมถึงหนู เป็นต้น โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ...
โรคเมลิออยด์ (ไข้ดิน)

โรคเมลิออยด์ (ไข้ดิน)

0
โรคเมลิออยด์ (Meliodosis) หรือที่รู้จักกันในประเทศไทยว่า "ไข้ดิน" เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งพบอยู่ในดินและน้ำขังในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย และภูมิภาคเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ สาเหตุ โรคเมลิออยด์เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งพบได้ในดินและน้ำ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ ผ่านทางผิวหนัง เช่น หากมีบาดแผลและเดินบนดินหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ผ่านทางลมหายใจ กรณีที่มีการฟุ้งของฝุ่นหรือดินที่มีเชื้ออยู่และสูดดมเข้าไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด จะส่งผลให้เกิดอาการปอดอักเสบ ...
มือชา นิ้วชา เสี่ยงโรคอะไร

มือชา นิ้วชา เสี่ยงโรคอะไร

0
"มือชา" และ "นิ้วชา" คืออาการที่เกิดจากการหดตัวของเส้นเลือดที่มีขนาดเล็ก (เส้นเลือดฝอย) ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง หรือหยุดชั่วคราว จนทำให้มือหรือนิ้วมีอาการชาหรือตายเย็น โดยเฉพาะในสภาวะที่อากาศหนาว หรือในสถานการณ์ที่เกิดความเครียด โรคคาร์พัล ทันเนล ซินโดรม (Carpal tunnel syndrome) เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ ทำให้มีอาการชา อ่อนแรง และเสียการรับรู้บริเวณฝ่ามือและนิ้วโป้ง โรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เส้นประสาทเสียหาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชา อ่อนแรง และเสียการรับรู้บริเวณปลายมือและเท้า โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกาย...
เลี้ยงลูกอย่างไร(ไม่)ให้เป็น Toxic Parents

เลี้ยงลูกอย่างไร(ไม่)ให้เป็น: Toxic Parents

0
แพทย์หญิงนิศารัตน์ วัชรีอุดมกาล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำศูนย์ Mind Center โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า ความคาดหวังของพ่อแม่ โดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องปกติที่มีได้ แต่การระวังเพื่อไม่ให้ความคาดหวังนั้นเป็นพิษต่อตัวลูกและตัวพ่อแม่เอง ต้องเริ่มต้นจากการพยายามสื่อสารกันในครอบครัว และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือการสื่อสารแบบ 2 ทาง นั่นคือ การสื่อสารบอกลูก และการรับฟังว่า ในฐานะที่เขาเป็นลูก เขามีความคาดหวังต่อเราที่เป็นพ่อแม่อย่างไร และความคาดหวังที่ลูกมีต่อตัวเขาเองเป็นอย่างไร เขามีความฝัน มีความหวังอะไรเกี่ยวกับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน ตลอดจนการใช้ชีวิตของเขาไว้อย่างไร ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นได้จากการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวด้วย การเริ่มต้นในการสื่อสารกับลูกที่ดีที่สุด คือ การฟัง และต้องเป็นการฟังแบบตั้งใจ หรือที่เรียกว่า Active...
คนอายุน้อย ทำไมเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น

คนอายุน้อย ทำไมเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น

0
คนอายุน้อย...ทำไมเป็นมะเร็งปอดมากขึ้น โดย ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล         โดยส่วนใหญ่หลาย ๆ คนมักคิดว่า “โรคมะเร็งปอด” ควรจะต้องเป็นในคนอายุมากหรือคนที่สูบบุหรี่เท่านั้นแต่แท้จริงแล้วโรคมะเร็งปอดสามารถเกิดขึ้นได้ในคนอายุน้อยเช่นเดียวกัน โดย ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย (อ้างอิง การศึกษา Journal of cancer ที่ในสังเกตพบว่ามะเร็งปอดมักพบในช่วงอายุ 70 ปีและมากกว่า 70% มักจะพบในช่วงอายุที่มากกว่า 55 ปี แต่อย่างไรก็ตามมากกว่า 10% ที่พบในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 50% และจำนวน 1.4% พบน้อยกว่าอายุ 35 ปี ทั้งนี้ในกลุ่มคนอายุน้อยจะสังเกตพบว่า จะเจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยชนิดที่พบมักจะเป็น Adenocarcinoma)           ผศ.นพ.ศิระกล่าวว่าโดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอายุน้อยมักจะพบระยะ 4 เมื่อการตรวจวินิจฉัยครั้งแรก (ระยะ 4 หมายถึง มีการลุกลามเข้าเยื่อหุ้มปอดหรือไปที่บริเวณอวัยวะอื่น ๆ  เช่น สมอง  กระดูก  ต่อมหมวกไต และตับ...
การผ่าตัดปลูกฟันเทียม ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

การผ่าตัดปลูกฟันเทียม ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

0
การผ่าตัดปลูกฟันเทียม (รากฟันเทียม) เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นการเตรียมตัวอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญ เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งที่คุณควรเตรียมตัวมีดังนี้ การตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจเฉพาะทาง ทันตแพทย์จะส่งตรวจร่างกายทั่วไป เช่น เจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ถ่ายภาพรังสี เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยรวม และอาจตรวจพิเศษเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น CT Scan เพื่อวางแผนการผ่าตัด ควบคุม/รักษาโรคประจำตัว หากคุณมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไวรัสตับอักเสบ...

Recent Posts