คุณหมอขอตอบ! อยาก จัดฟันในช่วง Covid-19 จริงๆ แล้ว…ทำได้หรือไม่?
คุณหมอขอตอบ! จัดฟันในช่วง Covid-19 อยาก จริงๆ แล้ว...ทำได้หรือไม่?
ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลาย ๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น หรือบางคลินิกถึงกับปิดรับการรักษาเลยทีเดียว เมื่อเรากำลังผ่านพ้นช่วงของโรคระบาดไป และจำเป็นต้องกลับมาดำรงชีวิตตามปกติ จึงเป็นช่วงเวลาของการทบทวนในการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัยไร้ Covid-19 และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยที่กังวลในการมารับการรักษาที่โรงพยาบาล
คำถามยอดฮิต! จัดฟันในช่วง Covid-19 จัดฟันได้หรือไม่
กรมการแพทย์ ได้ให้แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในกรณีเร่งด่วน Emergency...
รากฟันเทียมคืออะไร
รากฟันเทียมคืออะไร
รากฟันของเทียม คือวัสดุที่ฝังลงในขากรรไกร เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ซึ่งทันตแพทย์จะยึดติดที่ครอบฟันหรือสะพานฟันเข้ากับ “ราก” นี้ เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป รากเทียมมีรูปร่างคล้ายสกรู ทําจากโลหะไทเทเนียม มีความ หนา 3-5 มิลลิเมตร และยาว 8-16 มิลลิเมตร โดยปกติแล้วจะใช้เวลา 3-6 เดือน เพื่อให้รากเทียมติดได้อย่างแนบแน่นกับกระดูกขากรรไกร ก่อนที่จะใส่ฟันปลอมเข้าไป แต่ในบางกรณี อาจใช้เวลาเร็วกว่านั้น ส่วนที่ทดแทนรากฟันมักประกอบด้วย...
รักษารากฟัน เตรียมตัวอย่างไร
การรักษารากฟัน เตรียมตัวอย่างไร
รักษารากฟัน เป็นการหยุดยั้งการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้นหลังจากรักษาคลองรากฟันแล้วควรพิจารณาทำเดือยและครอบฟัน เพื่อคงความแข็งแรงให้กับฟันที่รักษารากแล้ว
ลักษณะของฟันที่ต้องรักษารากฟัน
1. ฟันผุที่ลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน
2. ฟันที่มีการเปลี่ยนแปลงสีไปจากเดิมที่เกิดจากฟันตาย
3. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ฟันหัก ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน (กรณีผลสำเร็จในการรักษาต่ำ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟัน)
4. กรณีแก้ไขแนวฟันที่ทำร่วมกับการครอบฟัน
ข้อดีของ รักษารากฟัน
1. สามารถเก็บฟันไว้ใช้งานได้อย่างน้อย 5 - 10 ปี โดยไม่ต้องถอนฟัน
2....
ฟันปลอมหลวม อันตราย
ฟันปลอมหลวม อันตราย
ทันตแพทยสภาขอแจ้งเตือนประชาชน สำหรับท่านที่ใส่ฟันปลอมถอดได้ หรือใส่ฟันปลอมขนาดเล็ก เมื่อใส่ฟันปลอมมาเป็นเวลานาน อาจมีฟันปลอมที่หลวม ไม่แนบสนิทกับซอกฟัน หรือตะขอเกี่ยวฟันปลอมกับตัวฟันชำรุด แต่เนื่องจากมีความคุ้นชินกับฟันปลอมชุดดังกล่าวจึงไม่ได้ระมัดระวังในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้เผลอกลืนชิ้นฟันปลอมที่มีขนาดเล็กลงไปได้
โดยฟันปลอมถอดได้บางชนิดจะมีตะขอเกี่ยวกับตัวฟัน หรือมีรูปร่างโค้งเว้าเป็นมุมที่ยื่นเข้าตามซอกฟัน ซึ่งการออกแบบดังกล่าวจะช่วยให้ฟันปลอมมีการยึดติดในช่องปากได้ดี เมื่อเผลอกลืนเข้าในทางเดินอาหาร อาจติดหลอดอาหารหรือตกค้างในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ได้ ทำให้เกิดบาดแผลในทางเดินอาหารเกิดขึ้นได้ และเมื่อมีการตรวจด้วยภาพถ่ายเอ็กซเรย์อาจไม่พบ เนื่องจากเป็นฟันปลอมฐานพลาสติกซึ่งไม่มีส่วนประกอบฟันปลอมที่เป็นโลหะ หรือสารทึบแสง
ดังนั้นท่านที่ใส่ฟันปลอมควรหมั่นตรวจเช็ค ความแนบเเน่นของฟันปลอมและพบทันตแพทย์เพื่อการปรับแต่งหรือเปลี่ยนฟันปลอมชิ้นใหม่เมื่อสภาพฟันปลอมไม่เหมาะสมเช่น ฟันปลอมที่หลวม แตกหักหรือมีตะขอหัก เป็นต้น
กรณีท่านเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะมีสิทธิ์ได้รับค่าฟันปลอมและค่ารักษาพยาบาล ภายในเวลา 5...
ทำความเข้าใจกับ “ ฟันปลอม ”
ทำความเข้าใจกับ “ฟันปลอม”
ฟัน.ปลอม สำคัญอย่างไร?
ฟัน.ปลอม มีส่วนสำคัญที่เข้าไปช่วยทดแทนฟันที่หายไปเพื่อป้องกันไม่ให้การเคลื่อนที่ของฟันติดกันหรือฟันตรงข้ามกับพื้นที่ฟันที่หายไป
ถ้าซี่ที่อยู่ติดกันขยับ เลื่อนหรือเอียงเข้าไปในช่องว่างนี้จะส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันที่ขยับและฟันอีกซี่หนึ่งซึ่งสามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดเศษอาหารเข้าไปติด โรคเหงือกหรือบุคลิกภาพที่ดูไม่สวยงาม
ถ้าฟันตรงข้ามดันขึ้นหรือลงไปในช่องว่างฟันที่หายไปก็สามารถเปลี่ยนรูปแบบการบดเคี้ยวซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นสาเหตุของการบดเคี้ยวเข้ามาแทรก
วิธีการ | ฟันปลอม สะพานฟัน รากเทียม
ครอบฟัน
การครอบฟัน (Crown) เป็นการบูรณะฟัน กรณีฟันแตก ฟันหัก หรือฟันที่รักษาคลองรากฟันแล้ว ปัจจุบันใช้การครอบฟันแบบเซรามิค ล้วน ในการทดแทนฟันด้านหน้า เพราะจะมีสีฟันเสมือนจริง และจะใช้การครอบฟัน แบบพอร์ซเลนผสมโลหะ ในการทดแทนฟันกราม เพื่อใช้บดเคี้ยว การเลือกใช้การครอบฟันด้วยวัสดุใด...
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
บริการให้คำปรึกษา ดูแลรักษาฟันน้ำนม ตรวจสุขภาพฟัน โดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กซึ่งถูกอบรมมาโดยเฉพาะในการรักษาเด็กเล็ก ถ้าลูกของคุณกลัวการทำฟัน จะเป็นการดีอย่างมากที่จะพามาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก
ในการพาเด็กๆ ไปพบหมอฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและความเสี่ยงของการเกิดฟันผุตามระยะเวลาต่างๆ
ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
การดูดนิ้ว
การสบฟันที่ผิดปกติ
ในการตรวจสุขภาพฟันประจำปี ทันตแพทย์จะช่วยตรวจจุดที่อาจจะมีฟันผุ และขัดฟันทำความสะอาดให้ เมื่อปัญหาของฟันถูกพบในระยะเริ่มต้น การรักษาจะง่ายและไม่เจ็บปวด
การใส่เครื่องมือกันฟันล้มเพื่อคงช่องว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้นลดปัญหาฟันซ้อนเก
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะแนะนำให้ทำเครื่องมือกันฟันล้ม ในกรณีที่ลูกของคุณสูยเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาที่เหมาะสม เครื่องมือนี้จะคงช่องว่างไว้เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งดังกล่าว
การเคลือบหลุมร่องฟัน
คือ การเคลือบฟัน (Sealant) บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ช่วยปิดบริเวณหลุมและร่องฟันที่ลึกไม่ให้สิ่งสกปรกลงไปสะสมและสามารถแปรงฟันทาความสะอาดได้ง่ายขึ้นเป็นการป้องกันฟันผุ
ในการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำให้ฟันหลวมออกจากกระดูกขาขากรรไกรและเส้นเอ็น จากนั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าคีมหรือปากคีบจับฟันแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ทั้งนี้ฟันที่ถอนยาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ในคราวเดียว...
ทันตกรรมรักษารากฟัน
ทันตกรรมรักษารากฟัน
การรักษารากฟัน คือ การกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อในตัวฟันที่ตายแล้วออก ทำความสะอาดโดยการใช้เครื่องมือขยายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น สามารถใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟันได้ เมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันได้หมดแล้ว จะอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันได้อีก การรักษาคลองรากฟันไม่ใช่การรักษาที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าคนไข้ที่จำเป็นต้องรักษารากฟัน มักมาพบด้วยอาการปวด จากการที่เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันอักเสบมากจากการติดเชื้อ
สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่โพรงประสาทฟันถูกทำลายหรือตายได้แก่
ฟันแตก
ฟันผุลึก
อาการบาดเจ็บของฟัน เช่น การกระแทกอย่างแรงที่ฟัน ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไม่นานหรือในอดีต เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา จะมีการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ และสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวด
อาการที่แสดงว่าต้องรับการรักษารากฟัน
ฟันที่ผุลึกถึงระดับเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน...
ถอนฟันกี่วันแผลหาย
ถอนฟันกี่วันแผลหาย
สำหรับใครที่ยังไม่เคยถอนฟันนั้น คำถามที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ถอนฟันเมื่อไรหาย ซึ่งเป็นคำถามยอดฮิตที่เราต้องหาคำตอบหรือถามเพื่อนถามคนรู้จักกันตลอด ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงผลของการถอนฟันว่ากี่วันแผลจะหายดีกันครับ
การถอนฟันสามารถทำการถอนได้หลายสาเหตุ เช่น
- ถอนฟันเพื่อจัดระเบียบฟันให้ดี ยกตัวอย่างคนที่ต้องจัดฟัน จะต้องมีการถอนฟันที่เกิน หรือว่าฟันที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้หน้าเรียวมากยิ่งขึ้น
- ฟันผุ เมื่อฟันผุเราก็จะต้องทำการถอนฟัน เพื่อป้องกันอันตราย ฟันเสีย เพื่อรวมไปถึงอันตรายที่จะลามไปถึงเหงือกและรากฟันได้
- ฟันคุด เป็นฟันที่ต้องทำการผ่าตัดหรือถอนออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันคุด และปัญหาของฟันคุดตามมาที่หลัง
- ฟันมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ต้องทำการถอน เพื่อความปลอดภัย หรือปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการถอนฟัน
ถอนฟันแผลจะหายในกี่วัน
แผลในการถอนฟัน มีได้หลายสาเหตุ...
จัดฟันเปลี่ยนรูปหน้า 1 ใน 3 ของสิ่งที่หนุ่มๆ สาวๆ ต้องการ
จัดฟันเปลี่ยนรูปหน้า
ปัจจุบันการจัดฟันถือเป็นสิ่งที่หนุ่มๆ สาวๆ ต้องการที่จะหล่อสวยกันเมื่อเข้ารับการรักษาทันตกรรมจัดฟันโดยจะคาดหวังว่าหน้าจะเรียว เล็กขึ้น ดั้งโด่งขึ้น วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะว่าจัดฟันแล้วหน้าจะเปลี่ยนจริงหรือไม่
รูปหน้ากับการจัดฟัน
1. การเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร ซึ่งเติบโตมากในช่วงวัยรุ่น และโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 14-16 ปีในผู้หญิง และ
ประมาณ 18 ปีในผู้ชาย ขนาดของขากรรไกรถูกกำหนดโดยพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ การจัดฟันด้วยเครื่องมือมีผลต่อ
การเจริญเติบโตของขากรรไกรในช่วงที่ยังโต ไม่เต็มที่ จะสามารถยับยั้งหรือกระตุ้นการเจริญของขากรรไกรบนได้เล็กน้อย หลังจากช่วง
วัยรุ่นไปแล้ว ใบหน้าและขากรรไกรไม่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่บริเวณจมูกและคางจะยังยื่นขึ้นได้เล็กน้อยเมื่ออายุมากขึ้น
2. การเคลื่อนฟัน เนื่องจากฟันหน้าเป็นส่วนพยุงริมฝีปากไว้ ดังนั้น...
ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัด/ถอนฟันคุด
ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัดฟันคุด / ถอนฟันคุด
‘ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ
เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก
จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น
เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ
ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’
บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ
• เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
• โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
• พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
•...