รังสียูวี

รังสียูวีก็ทำร้ายผิวได้ แม้จะเวิร์คฟอรมโฮม (WFH)

0
เมื่อชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอนวนลูบไปมากับ “การอยู่บ้าน และ เวิร์คฟอรมโฮม” เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำงานนอกบ้านลดน้อยลง หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกโล่งใจ เพราะไม่ต้องผจญกับปัญหาแสงแดดที่ทำร้ายผิว แต่รู้หรือไม่ค่ะว่าถึงแม้ทำงานอยู่ที่บ้านแต่รังสียูวีจากแสงแดดก็ยังตามมาทำร้ายจนถึงในบ้านได้ ความจริงแล้ว แม้ว่าเราจะอยู่ในบ้านหรืออาคารที่มีหลังคาและกำแพงบดบังแสงแดด รังสียูวีจากแสงแดดโดยเฉพาะรังสียูวีเอ (UVA) ที่มีมากตลอดทั้งวัน สามารถทะลุผ่านกระจกเข้ามาในบ้านและทำร้ายผิวได้ ตั้งแต่เกิดการกระตุ้นเม็ดสีเมลานินให้ทำงานมากเกินไปจนทำให้ผิวหน้าหมองคล้ำและเกิดจุดด่างดำขึ้น นอกจากนี้รังสียูวียังทำลายโครงสร้างผิวชั้นลึกและเส้นใยคอลลาเจน ทำให้ความยืดหยุ่นของผิวเสียไป เกิดริ้วรอยและความหย่อนคล้อยของใบหน้า ท้ายที่สุดยังทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ผิว ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย ยิ่งเราชะล่าใจว่าไม่ได้ออกไปไหน ยิ่งขาดการสร้างเกราะป้องกันผิวโดยเฉพาะการทาครีมกันแดด อีกทั้งการทำงานที่บ้าน...
ป๊อกผ่าตัดสมอง

ป๊อก เผย นาทีตรวจเจอเนื้องอกในสมอง ต้องผ่าตัดด่วน

0
ป๊อก เผย นาทีตรวจเจอเนื้องอกในสมอง ต้องผ่าตัดด่วน ทำเอาหลายคนตกใจไม่น้อย หลัง ป๊อก-ภัสสรกรณ์ จิราธิวัฒน์ สามีของ มาร์กี้ ราศรี ได้ออกมาเปิดเผยว่าเหตุที่ต้องเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากตรวจเจอเนื้องอกในสมองขนาดเท่าลูกเทนนิสและต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน โดย ป๊อก ได้เปิดใจผ่าน รายการ ป๊อกกี้ on the run SS4 ถึงเรื่องราวหลังมีภาพของการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล พร้อมกับบอกว่าเข้ารับการผ่าตัดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา "เป็นเรื่องที่ช็อกสำหรับครอบครัว ไม่เคยนึกเลยว่าจะเกิดขึ้นเราเร็วขนาดนี้ ก่อนหน้านี้ผมมีอาการปวดหัว พยายามหาคำตอบกับสิ่งนี้มาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งเดือน ไปหาหมอมาหลายที่มาก หูอื้อพร้อมกันสองข้าง ก็ไปหาหมอหูตาคอจมูก ตอนนั้นผลทุกอย่างเป็นปกติ แต่อาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ...
ปานโอตะ คืออะไร

ปานโอตะ คืออะไร

0
"ปานโอตะ" (Ota Nevus) หรือที่รู้จักในชื่อ "ปานสีน้ำตาลหรือดำบนผิวหนัง" เป็นหนึ่งในรูปแบบของปานที่มักพบบนผิวหนังของบุคคลที่มีเชื้อสายเอเชียหรือแอฟริกัน ปานโอตะมักปรากฏในรูปแบบของจุดหรือเป็นบริเวณที่มีสีเข้มกว่าสีผิวปกติ และมักพบบริเวณใบหน้าหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ลักษณะของปานโอตะ: สี: โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้มหรือดำ ตำแหน่ง: มักปรากฏบนใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแก้ม หน้าผาก หรือรอบดวงตา แต่อาจพบได้ที่ส่วนอื่นของร่างกาย ขนาดและรูปทรง: ขนาดและรูปทรงอาจแตกต่างกันไปตามบุคคล บางรายอาจมีขนาดใหญ่และกระจายไปทั่วใบหน้า ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง...
ริดสีดวงทวาร อันตรายช่วง Work from home

ริดสีดวงทวาร อันตรายช่วง Work from home

0
ริดสีดวงทวาร อันตรายช่วง Work from home รู้ไหมว่า พฤติกรรมยอดฮิตหลายอย่างของชาวออฟฟิศช่วง Work from home อาจทำให้เสี่ยงโรคริดสีดวงทวาร ไม่ว่าจะเป็นนั่งทำงานนานติดต่อกันหลายชั่วโมง งานไม่เสร็จไม่ยอมลุก ไม่มีเวลาสำหรับการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวาร รวมไปถึงชอบทานแต่เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก กากใยไฟเบอร์น้อย ไม่ค่อยได้ทานผักผลไม้ ดื่มน้ำน้อย หรือดื่มชากาแฟแทนน้ำเปล่า จนทำให้ท้องผูกหรือเบ่งถ่ายบ่อย ล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงที่เส้นเลือดดำทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่เกิดอาการพองหรือยืดตัว มีอาการยื่นนูนเป็นติ่งออกมาจากทวารหนัก กลายเป็นริดสีดวงทวารหนักนั่นเอง แม้ริดสีดวงจะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่ก็อาจลดทอนความสุขในการทำงาน และอาจเสี่ยงริดสีดวงแตกได้...

หนอนในช่องปาก กับ 4 วิธีดูแล และป้องกันอย่างไรบ้าง

0
หนอนในช่องปาก ทันตแพทยสภา แนะนำแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทันตแพทย์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยที่มีหนอนอยู่ในช่องปากจำนวนมากนั้น ทพ เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า โรคนี้มีชื่อว่า Oral myiasis มักพบได้ในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือผู้พิการทางสมองที่ไม่สามารถปัดป้องแมลงที่มาตอมไต่ได้ โดยเกิดจากการที่มีแมลงในกลุ่มแมลงวัน บินไปกินเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก และไข่ทิ้งไว้ จากนั้นไข่ก็ฟักตัวเป็นตัวหนอนแล้วไชลึกลงไปอาศัยในเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ใช้บริเวณนั้นเป็นอาหารต่อไป แมลงชนิดนี้พบมากตามภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น สามารถออกไข่ไว้ตามผิวหนังที่เป็นแผล รูหู หรือช่องปาก...
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ คืออะไร

โรคแบคทีเรียกินเนื้อ คืออะไร

0
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือที่เรียกว่า "เนื้อเน่า" (Necrotizing fasciitis) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกในผิวหนังได้ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที โรคนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนี้รวมถึง: Group A Streptococcus (GAS) Clostridium E. coli Staphylococcus aureus อาการของโรคแบคทีเรียกินเนื้อรวมถึง: ปวดอย่างรุนแรงและรวดเร็วในบริเวณที่ติดเชื้อ ผิวหนังที่ติดเชื้ออาจบวม แดง และร้อน อาการบวมโตของเนื้อเยื่อ การเกิดตุ่มน้ำใสที่ผิวหนัง ...
การรักษาโรคอ้วน

เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด

0
เข้าใจอีกด้านของการลดน้ำหนัก ด้วย “วิธีการผ่าตัด” การรักษาโรคอ้วน ที่ไม่น่ากลัวอย่างคิด “อ้วนนนน” คำสั้น ๆ ที่สื่อถึงความอวบอิ่มจากการสะสมมานานแรมปีด้วยความมีอันจะกินของใครหลายคน คำวิเศษณ์คำนี้มีความวิเศษตรงที่สามารถสร้างความน้อยเนื้อต่ำใจให้ผู้ฟัง แถมสร้างเสียงหัวร่อต่อกระซิกให้ผู้พูดได้อย่างไม่น่าเชื่อ เราและท่านทราบดีอยู่แล้วจากการ shaming ที่ฝังลึกในวัฒนธรรมจนแก้ไขได้ยากแสนยาก หลายคนทั้งอึดอัดใจ ทั้งอึดอัดหุ่น อยากตะโกนบอกทุกคนว่า “ฉันก็กำลัง ลดน้ำหนักอยู่นี่ไงล่ะ!” นอกจากเสียงรอบข้างที่คอยทิ่มแทงแล้วนั้น สิ่งที่ทำให้ปวดใจไม่แพ้กัน คือ โรคภัยและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะตามมาจากภาวะอ้วนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า คนไทยเริ่มอ้วนตั้งแต่เด็ก โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก...
โรคประจำถิ่น

ทำความรู้จัก โรคประจำถิ่น

0
Endemic (โรคประจำถิ่น) คือ โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น กล่าวคือมีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศ หรือทวีป เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา โรคประจำถิ่นในประเทศใดว่าต้องพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ 1) เชื้อลดความรุนแรง (ปัจจุบันความรุนแรง อัตราป่วยตายโรคโควิด 19 ลดลงเหลือ เสียชีวิต ~ 1 ราย จากผู้ติดเชื้อ 1,000 ราย) 2)...
4 อาการเตือน ภาวะหัวใจขาดเลือด

4 อาการเตือน ภาวะหัวใจขาดเลือด

0
4 อาการเตือน ภาวะหัวใจขาดเลือด รู้ไว ปลอดภัยกว่า โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจที่น้อยลง ทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอซึ่งอาจนำไปสู่ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยทั่วไป มักจะปรากฏอาการเตือน 4 อย่างนี้ - เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก - อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย - ใจสั่น (อาจมีอาการเหงื่อแตกร่วมด้วย) - วูบ หมดสติ หัวใจหยุดเต้น ทั้งนี้ อาการเหล่านี้ เป็นเพียงแนวทางในการสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้แปลว่า ถ้ามีอาการเหล่านี้ จะต้องเป็น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจ...
“RSV”ไวรัสตัวร้าย

“RSV”ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (RespiratorySyncytial Virus)

0
“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus) สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ ลูกคือแก้วตาดวงใจ เมื่อลูกมีอาการไม่สบายแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้กังวลใจคิด ไปต่างๆ นานา แต่ถ้าเราทำความรู้จักและเข้าใจโรคให้มากขึ้น รู้อาการ รู้แนวทางป้องกันรักษาก็น่าจะทำให้คลาย ความกังวลลงได้ บทความตอนนี้ พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และ ภูมิคุ้มกัน วิทยา โรงพยาบาลนวเวช จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจที่มัก เกิดกับเด็กเล็กมา ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จัก ซึ่งหลายคนก็อาจสับสนระหว่าง RSV ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดธรรมดา คุณหมอก็เลยมี ข้อมูลมาให้เปรียบเทียบด้วยว่าแต่ละโรคมีความแตกต่างกันอย่างไร RSV เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก เชื้อไวรัส RSV สามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก...

Recent Posts